วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1.คำว่า”ระบบ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ    “ระบบ” หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทุกประเภท
          “วิธีการเชิงระบบ” หมายถึง เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญมี 3 ประการ ได้แก่

          1.ปัจจัยนำเข้า (INPUT)
          2.กระบวนการ (PROCESS)
          3.ผลลัพธ์ (OUTPUT)

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ  ระบบสารสนเทศ หมายถึง การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ  องค์ประกอบหลักของสารสนเทศประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

         1.ระบบการคิด  กระบวนการในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่
         2.ระบบเครื่องมือ  เครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล รวบรวม และเผยแพร่

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ  สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบไปด้วย   ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information)  ความรู้(Knowledge)  ปัญญา(Wisdom)
       สารสนเทศด้านขั้นตอน  ประกอบไปด้วย   ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process)   และผลลัพธ์(Output)
       สารสนเทศทั่วไป  ประกอบไปด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)  ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information)  โปรแกรมหรือซอต์ฟแวร์(Software)  บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)

6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล วิธีการ ทรัพยากรณ์ เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3ขั้นตอน ดังนี้

1.การวิเคราะห์ระบบ
2.การสังเคราะห์ระบบ

3.การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   สารสนเทศระดับบุคคล =เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล

           สารสนเทศระดับกลุ่ม =เสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ
         สารสนเทศระดับองค์กร =สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ   “ข้อมูล” หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

           “ความรู้” หมายถึง สภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีกี่ขั้นตอนอย่างไร
ตอบ    การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมี ขั้นตอน ดังนี้

            1.การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งกำเนิด
            2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลให้ใช้ได้ตลอดเวลา

            3.การจัดการข้อมูล หมายถึง การสร้างระบบจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ     1.แลน(LAN) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น
             2.แวน(WAN) คือเครือข่ายบริเวณกว้างระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์   เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง   เครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
             3.อินเทอร์เน็ต(Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  
1.มีความเร็วในการทำงาน
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วและสะดวก

2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนโดยการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2185 และในปีพ.ศ.2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่อาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกจึงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ   1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด

ส่วนประกอบที่สำคัญคือ 1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ 

1.ส่วนประมวณผล  2.ส่วนความจำ  3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก  4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ   CPU

7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบรอม(ROM)ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวหากปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลก็จะลบหายไป  แต่หน่วยความจำรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวรซึ่งเป็นหน่วยความจำที่ไว้ใช้เก็บโปรแกรม

 8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk)ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ทำหน้าที่หมุนจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabyte) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)
ตอบ  คือขนาดของการเก็บข้อมูล

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ  จอภาพ ทำหน้าที่แสดงผล  แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์   เมาท์ ทำหน้าที่ ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพ ให้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   มีประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง

8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  มีประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การเชื่อมต่อเครือข่ายในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน

4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมโยงต่อกันทั่วโลก

5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประเภท คือ

1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  มีรูปแบบ คือ 1.เครือข่ายเชิงกายภาพ  2.เครือข่ายเชิงตรรกยะ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  ด้านการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้

1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลือนไหวต่างๆ 

3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  คือการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ   เช่น การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ส่งอาจเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียงไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้

1.อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
2.เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้

3.อินเทอร์เน็ต(Internet)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้

2.อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ต(Intranet)  หมายถึง เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ   http://www.google.com

           http://www.altavista.com
         http://www.excite.com   เป็นต้น

 
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ  พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้นEnter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บที่ค้นหา

5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  Digital library หมายความว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ   http://www.school.net.th   

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8

1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ   มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.ให้ผู้ชมเข้าใจสาระการนำเสนอ
2.ให้ผู้ชมเกิดการประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ

1.2หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงาน มีดังนี้

1.การดึงดูดความสนใจ
2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา

3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม

          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  เครื่องฉายสไลด์    เครื่องฉายแผ่นใส    เครื่องฉายData Projector หรือ LCD Projector

1.5รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ

1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation
2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ   ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ   คือ สารสนเทศ และเทคโนโลยีมาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology ซึ่งก็ประกอบด้วยคำสองคำคือ Information และTechnology ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะเรียกทับศัพท์เป็นคำย่อว่า ไอที จากคำย่อภาษาอังกฤษIT (ไพรัช ธัชยพงษ์2540: 1)
          ความหมายของสารสนเทศ (Information)   คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มีการประมวลผลมาแล้ว หรือเก็บรวบรวมไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ถ้อยคำในการพูด การเขียน ภาพเขียน ไมโครฟิล์ม แผ่นดิสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือมีการบันทึกไว้ในสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศบางชนิด ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ด้วยวิธีหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “Information and Communication Technology” ICT หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับ การประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่งแปลงจัดเก็บประมวลผลและสืบค้น สารสนเทศเพื่อใช้ ถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัล (Digital Data) ประกอบด้วยเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องความเเม่นยำเเละความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศย่อมาจากคำว่าCommunication คือ การสื่อสารย่อมาจากคำว่า Technology คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์


3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร


ตอบ  มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่าสารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์มาใช้

 4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่อย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี2ด้านคือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น… – - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว





 5. ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artifical Intelligence :AI) หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ  เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์  ระบบปัญญาแบ่งออกเป็น ระบบ คือ
         1.ระบบหุ่นยนต์
         2. ระบบประมวลภาษพูด
         3.ระบบการรู้จำเสียงพูด
         4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   - เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิตลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second) (Haag et al.,2000:19)
2) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวด เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมี ปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วย งานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น (Turban et al.,2001)




7 สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ      ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
• ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)
• ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
• ชัดเจน (clarity)
• ระดับรายละเอียด (level of detail)• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
• สื่อการนำเสนอ (media)
• ความยืดหยุ่น (flexibility)
• ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
• การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
• มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
• การมีส่วนร่วม (participation)
• การเชื่อมโยง (connectivity)


8. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช่ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   หนังสือพิมพ์   วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์   โทรศัพท์   โทรสาร   การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ(ตู้ATM)  การจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก   การทำแบบเวชทะเบียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น


9. จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ  กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย
10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ      บทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
2. ช่วยให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัย
3. การรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
4.สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำไปประยุกต์พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
5.กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
              บทบาทที่ก่อให้เกิดโทษสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ และซอต์ฟแวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนาทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. ละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3.การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์